Category Archives: บริการของคลินิก

ฟันปลอม

ฟันปลอม เมื่อเอ่ยถึงฟันปลอม หลายคนก็สามารถเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นฟันที่นำมาใช้แทนฟันแท้ ซึ่งก็สามารถแบ่งได้อีกว่าเป็นฟันปลอมบางส่วนหรือเป็นฟันปลอมชนิดทั้งปาก นอกจากนี้ยังแบ่งฟันปลอมได้อีกว่าเป็นฟันปลอมชั่วคราวหรือฟันปลอมถาวร ซึ่งอายุการใช้งานก็จะแตกต่างกัน โดยฟันปลอมแบบชั่วคราวจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 6 เดือน จะมีลักษณะเป็นพลาสติกอาจใส่หลังจากถอนฟันเลยหรือหลังจากถอนฟันมานานแล้วก็ได้  ส่วนฟันปลอมแบบถาวรจะมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปจนถึงตลอดไป ซึ่งหากคุณดูแลและทำความสะอาดพร้อมได้รับการตรวจจากทันตแพทย์เป็นระยะคุณก็สามารถใช้ฟันปลอมได้ตลอดไป โดยฟันปลอมแบบถาวรสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1.ฟันปลอมถาวรแบบถอดได้ เราคงจะเคยเห็นกันมาบ้างแล้วจากคนใกล้ตัวผู้สูงอายุ  ฟันปลอมชนิดนี้จะมีโครงเป็นโลหะ มีความแตกต่างกันที่ขนาดบ้างก็ชิ้นเล็กบ้างก็ชิ้นใหญ่ 2.ฟันปลอมแบบติดแน่น คนที่รำคาญฟันปลอมชิ้นใหญ่ ๆ อาจเลือกฟันปลอมแบบติดแน่น โดยอาจจะต้องทำครอบฟันหรือทำสะพานฟันสำหรับในกรณีนี้ ฟันปลอมแบบถอดได้ มีโครงเป็นโลหะ มีความแข็งแรง ถอดออกมาล้างทำความสะอาดง่าย แต่อย่างไรก็ตามฟันปลอมถาวรแบบถอดได้นั้นมีราคาค่อนข้างแพง หากงบประมาณไม่พอก็สามารถใช้ฟันปลอมชั่วคราวแบบพลาสติกไปก่อนได้  แต่ก็ควรเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะฟันปลอมชนิดนี้จะไม่แนบสนิทกับช่องปาก ทำให้เกิดปัญหาฟันผุตามคอฟัน ส่วนฟันปลอมแบบติดแน่น มีราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้ การดูแลรักษาก็เหมือนกับดูแลฟันปกติ เนื่องจากฟันปลอมจะยึดติดแน่นกับตัวฟันที่เป็นฐาน แต่ก็มักจะพบปัญหาฟันจริงที่ถูกครอบมักผุหรือเป็นโรคเหงือกใต้ฟันปลอมที่เป็นแบบสะพานฟันได้ ฟันปลอมกับการถอนฟัน ปัญหาที่พบสำหรับคนที่ถอนฟันคือ ไม่สามารถใส่ฟันปลอมได้ทันทีโดยจะต้องรอให้เหงือกยุบหรือแผลหายเสียก่อน แต่ถ้าเป็นฟันหน้าเวลาถูกถอนย่อมมีผลต่อจิตใจ คุณหมอมักทำฟันปลอมชนิดที่สามารถใส่ได้ทันทีหลังถอนฟัน แต่ถ้าเป็นฟันหลัง คุณหมอจะไม่แนะนำให้ใส่ฟันปลอมทันที ทำไมเราจึงต้องดูแลฟันปลอม เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารเศษอาหารจะเข้าไปติดตามฟันปลอม เราจึงควรถอดฟันปลอมออกมาทำความสะอาดทุกครั้งหลังอาหาร โดยใช้แปรงสีฟันขนแบบอ่อนที่สุดร่วมกับยาสีฟันหรือจะใช้น้ำสบู่ก็ได้ แปรงให้ทั่วฟันปลอมและบริเวณแผ่นเหงือกแล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดเพียงเท่านี้คุณก็จะมีฟันปลอมที่สะอาดมีอนามัยใช้ได้ตลอดไป […]

การรักษาฟันสำหรับเด็ก

การรักษาฟันสำหรับเด็ก การทำฟันในเด็กหากผู้ปกครองพาเด็ก ๆ มาหาทันตแพทย์ตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ย่อมดีกว่าพาลูกมาตอนที่มีปัญหาในช่องปากแล้ว เพราะเชื่อว่าเด็กทุกคนมีความกลัวหมอฟันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงขึ้นอยู่กับวิธีที่ผู้ปกครองจะใช้กับบุตรหลานเพื่อทำให้เขาให้ความร่วมมือในการรักษาแต่โดยดี การเตรียมตัวลูกน้อยก่อนมาทำฟันเด็ก ในการทำฟันในเด็ก เพื่อให้ง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรสร้างความคุ้นเคยให้กับเด็กตั้งแต่ยังเยาว์ ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องทันตสุขภาพให้แก่ลูก โดยอาจเริ่มตั้งแต่เด็กเริ่มมีฟันขึ้น โดยฟันน้ำนมจะขึ้นครบเมื่อเด็กอายุประมาณ 2 ขวบ-2 ขวบครึ่ง ซึ่งเป็นวัยที่สามารถฟังคำสั่งและคำอธิบายของหมอได้พอเข้าใจ การไปพบหมอแผนกทำฟันเด็กตั้งแต่เล็ก ๆ ก็เพื่อให้เด็กรู้จักทันตแพทย์ ให้เห็นห้องทำงานของคุณหมอ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำฟัน เพื่อให้เด็กเกิดความคุ้นเคยและสื่อสารเข้าใจตรงกัน ไว้วางใจคุณหมอทำฟันเด็ก คุณหมอที่ทำฟันเด็กมักมีเทคนิคการพูด การรักษาที่ทำให้เด็กไม่รู้สึกกลัว ทำให้เด็กสนุกและเข้าใจว่าการมาหาหมอฟันไม่ได้มีอะไรที่เจ็บหรือน่ากลัวเลย ส่วนใหญ่แล้วในการรักษาครั้งแรก จะเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ ก่อน เช่น ขัดฟัน เคลือบหลุมร่องฟันซี่ที่ยังไม่ผุ การเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุ เป็นต้น การพาเด็กมาหาหมอฟันโดยที่เด็กยังไม่มีฟันผุรุนแรงหรือเจ็บปวดย่อมดีกว่ามาตอนที่อาการเริ่มชัดเจนแล้ว ซึ่งถ้าคุณพ่อคุณแม่พามาหาหมอทำฟันเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ และมีการรักษาเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังกล่าว เมื่อถึงคราวที่เด็กต้องมาในครั้งหน้า เด็กจะเกิดความคุ้นเคยและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พาลูกมาทำฟันตั้งแต่แรกเริ่มย่อมดีกว่า การพาลูกน้อยมาที่แผนกทำฟันเด็กแต่เนิ่น ๆ ย่อมเป็นการดี […]

รากฟันเทียม

รากฟันเทียม หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ประสบปัญหาในช่องปาก ย่อมรู้ดีว่าต้องกระทบต่อการใช้ชีวิตเป็นแน่ เพราะอาการที่เกิดขึ้นมีทั้งความเจ็บปวด ความไม่สะดวกสบายนานาประการ หากไม่รีบดำเนินการรักษาให้เรียบร้อย ย่อมทำให้เกิดการลุกลามเป็นผลเสียตามมา เป็นที่ทราบกันดีว่าฟันเป็นอวัยวะที่ช่วยให้คุณมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น หากคุณมีฟันบิ่น บิดเบี้ยวหรือฟันเหยิน ก็ยังสามารถทำการจัดฟันได้ แต่ถ้าคุณฟันหลอ ฟันหักครึ่ง การจัดฟันอาจไม่ใช่คำตอบของการรักษา ซึ่งอาจต้องทำศัลยกรรมใส่รากฟันเทียม เพื่อเป็นฐานสำหรับใส่ครอบหรือสะพานฟันแบบถาวร จึงจะช่วยให้คุณกลับมามีบุคลิกภาพที่ดีดังเดิมได้ การใส่รากฟันเทียมเพื่อใส่ครอบหรือสะพานฟันถาวรมีข้อดีอย่างไร? เชื่อว่าหลายคนคงอยากจะรู้ว่าการใส่รากฟันเทียมเพื่อใส่ครอบหรือสะพานฟันถาวรมีข้อดีอย่างไร ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้มีฟันเพื่อช่วยในเรื่องความสวยงามและการเคี้ยวอาหาร โดยไม่ต้องกรอฟันที่ดีๆ ข้างๆช่องว่าง ซึ่งเป็นข้อเสียที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของการทำสะพานฟันแบบปกติ  อีกทั้งง่ายต่อการทำความสะอาดในช่องปาก ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก เวลาพูดคุยกับใครก็จะมีแต่ความมั่นใจ การเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการใส่รากฟันเทียม การใส่รากฟันเทียมนั้น มิใช่ว่านึกอยากจะใส่รากฟันเทียมก็สามารถทำได้เลย จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมก่อน โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาชอบนอนกัดฟัน ซึ่งอาจเกิดปัญหาหลังจากใส่รากฟันเทียมได้ โดยคนที่จะใส่รากฟันเทียมนั้นจะต้องไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสภาพในช่องปาก รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันหรือเบาหวาน เป็นต้น โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจอีกครั้งเมื่อจะเข้ารับการรักษา ก่อนที่จะทำการใส่รากฟันเทียมให้ ในส่วนของการเลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลควรเลือกที่ได้มาตรฐาน และทันตแพทย์ที่จะผ่าตัดจะต้องเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านการทำรากเทียมเท่านั้น เมื่อตกลงใจเข้ารับการรักษาแล้ว ควรปรึกษาทันตแพทย์ให้ละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการใส่รากฟันเทียมเพื่อทำฟันปลอม เพื่อเป็นความรู้ต่อไป เรียนรู้ขั้นตอนในการใส่รากฟันเทียมอย่างเข้าใจ เพื่อให้คุณสามารถเข้าใจถึงขั้นตอนการใส่รากฟันเทียมว่าแต่ละขั้นตอนคุณหมอมีการทำงานอย่างไร ขั้นตอนแรก การใส่รากฟันเทียม เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจฟัน พิมพ์แบบฟันและเอกซเรย์ เพื่อวางแผนการรักษาไปแล้ว ในวันที่ผ่าตัดทันตแพทย์ก็จะเริ่มจากการฉีดยาชาแล้วรอให้ยาชาออกฤทธิ์ ประมาณ 5-10 […]

ขูดหินปูน

ขูดหินปูน เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยเข้ารับการขูดหินปูนกันมาบ้างแล้ว หลายคนอาจขูดหินปูนปีละครั้ง หรือบางคนปีละ 2 ครั้ง หรือหากบางคนปล่อยปละละเลยหน่อย ก็อาจพาตัวเองไปขูดหินปูนนาน ๆ ครั้ง ซึ่งความถี่ในการขูดหินปูนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะดูแลความสะอาดของฟันได้ดีมากน้อยกว่ากัน เพราะการทำความสะอาดที่บ่อยครั้งอย่างถูกวิธีก็มีส่วนช่วยให้การเกิดคราบหินปูนช้าเร็วต่างกันด้วย แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะทำความสะอาดฟันดีอย่างไร แต่ก็หลีกหนีไม่พ้นคราบหินปูนที่เรามองไม่เห็นอยู่ดี ซึ่งก็ต้องอาศัยทันตแพทย์ในการช่วยขูดออกให้ ควรหมั่นไปพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสุขภาพฟันหรือขูดหินปูนหากพบว่าถึงเวลาและน่าจะขูดได้แล้ว คราบหินปูนเกิดจากอะไร? การเกิดคราบหินปูนที่ทำให้เราทั้งหลายต้องพาตัวเองไปขูดหินปูนนั้น น่าสนใจมากๆ เพราะถ้าเรามีความรู้เรื่องนี้ จะได้มีความเข้าใจและดูแลทำความสะอาดฟันให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยหินปูนที่เราเรียกกันจนติดปากนั้นก็คือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัว เพราะมีแร่ธาตุจากน้ำลายเข้าไปตกตะกอน ตัวแผ่นคราบจุลินทรีย์เองนั้น ซึ่งลักษณะแผ่นคราบจุลินทรีย์นั้น จะมีลักษณะสีขาวขุ่นและนิ่ม ซึ่งตัวนี้เองที่เป็นแหล่งอาศัยของเชื้อโรคที่ติดอยู่บนตัวฟัน ถึงแม้ว่าคุณจะบ้วนน้ำแรง ๆ ก็ไม่ได้ช่วยอะไรได้เลย ซึ่งกระบวนการเกิดคราบจุลินทรีย์นั้น เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่คุณแปรงฟันไปแล้วเพียง 2-3 นาที เท่านั้น หลังจากนั้นเมือกใสของน้ำลายจะเข้ามาเกาะที่ตัวฟัน แล้วเจ้าตัวเชื้อโรคที่มีจำนวนมากในปากก็จะพากันมาเกาะทับถมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ที่เราเริ่มสังเกตเห็นได้นั่นเอง เจ้าคราบจุลินทรีย์นี้เองที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้คุณเป็นโรคฟันผุและโรคปริทันต์ น้ำตาลจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะเป็นอาหารของจุลินทรีย์ด้วย ซึ่งจะเกิดการสร้างกรดและสารพิษขึ้น ตัวกรดนี้จะไปทำลายเคลือบฟัน จึงทำให้ฟันผุ ส่วนตัวสารพิษจะทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและเป็นโรคปริทันต์ตามมาหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป หากคุณทำความสะอาดฟันไม่ดีพอเจ้าคราบจุลินทรีย์นี้จะสะสมมากขึ้นทำทำอันตรายต่อเหงือกและฟันในที่สุด ทุกคนควรได้รับการขูดหินปูน การขูดหินปูนมีความจำเป็นต่อทุกคน เราสามารถมองเห็นคราบหินปูนที่โผล่พ้นขอบเหงือกได้ แต่ก็มีคราบหินปูนที่อยู่ใต้เหงือกเราไม่สามารถมองเห็นได้ […]

ฟันคุด

ฟันคุด สำหรับคนที่เป็นฟันคุดนั้น หากฟันคุดไม่ออกอาการใด ๆ ก็คงจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาสักเท่าไร แต่ถ้าฟันคุดออกอาการเมื่อไร เชื่อว่าหลายคนคงจะไม่อาจอยู่นิ่งเฉยได้ ยิ่งถ้ามีอาการรุนแรง จนเกิดการติดเชื้อในช่องปากหรือลุกลามไปจนติดเชื้อบริเวณใบหน้าและลำคอ แบบนี้ก็ต้องบอกว่าอันตรายมากจนถึงต้องนอนโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว คุณควรรีบไปปรึกษาทันตแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานหากพบอาการที่บ่งบอกดังนี้ ปวด บวมบริเวณฟันคุด หรือบวมแดงบริเวณเหงือกรอบฟันคุด มีกลิ่นปาก อ้าปากได้น้อย แก้มหรือใบหน้าบวม กลืนน้ำลายได้ลำบาก เวลากลืนจะเจ็บคอ มีไข้ เป็นต้น หากคุณละเลยไม่ใส่ใจปล่อยทิ้งไว้นานเกิน อาจกลายเป็นหนองหรือติดเชื้อลามเข้าใบหน้า ลำคอ ช่องว่างเนื้อเยื่อในลำคอ จะทำให้หายใจลำบากได้ จะเห็นได้ว่าอาการดังกล่าวค่อนข้างรุนแรงและเป็นอันตรายทีเดียว หลายคนไปซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ขอบอกว่าเสี่ยงมากเพราะอาจได้รับยาหรือปริมาณที่ไม่ถูกต้องได้ ทางที่ดีควรปรึกษาทันตแพทย์จะดีกว่า   วิธีการรักษาฟันคุด โดยส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะทำการถอนหรือผ่าฟันคุดออกให้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะการติดเชื้อในขณะนั้นด้วย หากมีอาการบวมแดงของเหงือกมากและอ้าปากไม่ค่อยได้ ทันตแพทย์อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะรักษาและบรรเทาอาการก่อน พร้อมทั้งแนะนำให้พยายามทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวด้วย เมื่ออาการดีขึ้นถึงจะผ่าฟันคุดออกได้ แต่ถ้าอาการไม่รุนแรงมากนัก คุณหมอสามารถผ่าฟันคุดได้ทันที ในบางกรณีอาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะหลังการผ่าตัดร่วมด้วย  ในกรณีที่มีการบวมลุกลามหรือมีหนองสะสม อาจต้องทำการเปิดระบายหนอง ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของทันตแพทย์ หลังจากผ่าตัดฟันคุดแล้วควรกินยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ ควรบ้วนปากและแปรงฟันให้สะอาดและกลับไปพบทันตแพทย์ตามนัด   ฟันคุดนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในช่องปาก เมื่อคุณมีฟันคุด ย่อมส่งผลต่อสุขภาพในช่องปากโดยตรง ซึ่งล้วนแต่สร้างความเจ็บปวดและความไม่สบายในช่องปากเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถจำแนกปัญหาที่เกิดจากฟันคุดได้ดังนี้   […]

ถอนฟัน

ถอนฟัน การถอนฟันส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากฟันที่ผุมากจนไม่สามารถรักษาฟันไว้ได้ด้วยวิธีอื่น จึงจำเป็นต้องถอนฟันทิ้งไป หากเป็นเด็กอาจเกิดจากการที่ฟันน้ำนมไม่ยอมหลุดทำให้ฟันแท้ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ก็จำเป็นต้องถอนฟันเช่นกัน นอกจากนี้ยังเกิดจากการเป็นโรคปริทันต์ลุกลามทำลายกระดูกรอบรากฟันมากกว่า 1 ใน 3  ของความยาวรากฟัน ทำให้ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติและเป็นที่รำคาญ ฟันประเภทนี้จึงต้องถูกถอนไป หรือในบางกรณีก็มีความจำเป็นต้องถอนฟันดีไปด้วยเหตุผลของการจัดฟันในกรณีที่สันเหงือกมีพื้นที่ไม่พอ เพื่อให้ฟันเรียงตัวสบกันได้ดี   ความยาก-ง่ายของการถอนฟันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการอาทิ ความแข็งแรงอวัยวะรองรับของฟัน ความผิดปกติของรูปร่างฟันและรากฟัน เป็นต้น และต้องทำการรักษาภายใต้การฉีดยาชา ก็จะช่วยให้การถอนฟันเป็นไปอย่างสะดวก   ทันตแพทย์มักจะถอนฟันให้คนไข้โดยใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่ไม่สามารถรักษาฟันด้วยวิธีอื่นได้ เพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันที่อาจตามมาได้ เช่น เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อของฟัน เป็นต้น  การสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งไปจะทำให้ฟันซี่ข้าง ๆ เคลื่อนตัวไปยังช่องว่าง มีผลต่อการเคี้ยวอาหาร การเรียงตัวของฟันและการสบฟัน ทำให้สูญเสียความมั่นใจเวลายิ้มหรือพูดคุย   ความจำเป็นในการรักษาด้วยวิธีถอนฟัน ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ทันตแพทย์มักจะไม่ถอนฟันให้คนไข้ แต่จะเลือกการรักษาวิธีอื่นเพื่อเป็นการรักษาฟันไว้ อย่างไรก็ตามมีหลายกรณีที่ต้องใช้วิธีถอนฟันให้คนไข้ อาทิ เกิดการอักเสบของฟัน หรือมีฟันผุจนทะลุถึงโพรงประสาทฟัน หรือกรณีเกิดอุบัติเหตุแล้วมีฟันแตกหรือร้าวลงไปในส่วนรากฟัน นอกจากนี้การติดเชื้อที่กระดูกบริเวณรอบ ๆ รากฟันที่อยู่ในขั้นรุนแรง ทันตแพทย์อาจต้องทำการถอนฟันเช่นเดียวกัน รวมถึงฟันที่ขึ้นซ้อนเกทำให้ยากต่อการทำความสะอาด ตลอดจนคนที่มีปัญหาฟันคุดที่สมควรต้องถอนอันเนื่องมาจากตำแหน่งการขึ้นของฟัน หากเป็นเด็ก การที่ฟันน้ำนมไม่ยอมหลุดทำให้ฟันแท้ขึ้นมาไม่ได้หรือขึ้นออกนอกแนวสันเหงือก ก็มีความจำเป็นต้องถอนฟันน้ำนมออกเช่นกัน   ขั้นตอนก่อนการถอนฟัน สำหรับคนที่มีประสบการณ์ในการถอนฟันมาก่อนก็จะรู้ว่า […]

รักษารากฟัน

รักษารากฟัน เมื่อพูดถึงการทำฟันแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรกับฟันก็ตามส่วนใหญ่แล้วคนเราจะรู้สึกกลัว ยิ่งคนที่คุณหมอบอกว่าต้องรักษารากฟันด้วยแล้ว ก็ให้รู้สึกกลัวเจ็บไปก่อนเพราะไม่เคย ความจริงแล้วการรักษารากฟันต่างหากที่ช่วยอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นอยู่นั้นหายไป หากไม่มีวิธีนี้หลายคนอาจต้องทนทุกข์กับอาการอันเนื่องจากปัญหาในช่องปากได้ ในวันนี้เพื่อให้คลายความกลัวลงบ้างกับการไม่รู้เรามาเรียนรู้เรื่องของการรักษารากฟันกันดีกว่า   ทำไมเราจะต้องรักษารากฟัน ที่เราต้องรักษารากฟันก็เพราะว่าเราปล่อยให้ฟันผุเป็นเวลานานโดยไม่ทำการรักษาหรืออุดฟัน ณ เวลานั้น ทำให้เกิดการลุกลามของโรคฟัน ซึ่งทำลายฟันมากขึ้นจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน มีการอักเสบและมีฝีหรือถุงหนองที่ปลายรากฟัน คนไข้จะมีอาการปวดแบบทรมาน นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของเชื้อโรคที่คอยบั่นทอนสุขภาพร่างกายให้อ่อนแออีกด้วย เพราะฉะนั้นทางเลือกที่เหลืออยู่ของฟันที่ผุมากดังกล่าว จึงต้องรักษาด้วยการรักษารากฟัน หรือในบางครั้งอาจจะต้องพิจารณาถอนฟันก็เป็นไปได้ งานรักษารากฟันเป็นงานที่ค่อนข้างลำบาก ยิ่งตรงฟันกรามซึ่งมีถึง 3-4 รากต่อซี่ด้วยแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการรักษาเมื่อเกิดอะไรขึ้นหรือรับรู้ถึงอาการควรรีบมาหาหมอฟันทันที   หากมารักษารากฟันช้าจะเป็นอย่างไร หากคุณปล่อยฟันผุที่เป็นปัญหาไว้นานเกินไป แล้วค่อยมาหาทันตแพทย์ ถึงแม้อยากจะรักษาฟันไว้ บางทีอาจสายเกินไป อาจต้องใช้การรักษาด้วยการถอนฟันเท่านั้น ดังนั้น เรื่องใกล้ตัวขนาดนี้ต้องหมั่นตรวจเช็คและพาตัวเองไปหาทันตแพทย์จะได้รักษาได้ทัน ยึดหลักง่าย ๆ คือ มาเร็วยิ่งดี ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนาน   วิธีรักษารากฟันที่เข้าใจง่าย       สำหรับวิธีรักษารากฟันนั้น หากทันตแพทย์ตรวจแล้วพบว่าฟันของคุณมีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน คุณหมอจะทำการรักษาให้โดยการกรอกำจัดรอยผุออกทั้งหมด รวมถึงการกำจัดเนื้อฟันที่ติดเชื้อในคลองรากฟัน แล้วใส่ยาประเภทแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เมื่อคลองรากฟันสะอาดดีแล้ว ทันตแพทย์ก็จะทำการอุดรากฟันด้วยวัสดุทางทันตกรรม จากนั้นจึงพิจารณาทำการบูรณะตัวฟันตามแผนการรักษาที่วางไว้ต่อไป   การรักษารากฟันมีวิธีการที่สำคัญดังนี้ ทันตแพทย์จะทำการกรอกำจัดรอยผุ จากนั้นกรอฟันเพื่อหาคลองรากฟันที่อยู่ต่อจากโพรงประสาทจนถึงปลายรากฟัน จากนั้นจะทำการขยายคลองรากฟันให้ใหญ่ขึ้นแล้วใช้น้ำยาล้าง […]

อุดฟัน

อุดฟัน สำหรับคนที่เคยอุดฟันมาแล้วย่อมรู้ดีว่าการอุดฟันไม่ใช่เรื่องสนุกเลย เพราะหากมีอาการเสียวฟันตามมาหลังจากอุดฟันแล้วนับว่าเป็นสิ่งที่สร้างความทุกข์จากการเสียวฟันไม่น้อย นอกจากจะได้รู้ว่าเพราะอะไรจึงเกิดการเสียวฟันแล้ว คุณยังรู้ว่าวัสดุอุดฟันที่คุณหมอใช้นั้นทำจากวัสดุอะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร ทำไมต้องใช้วัสดุชนิดนั้น มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   วัสดุอุดฟันมีกี่ชนิด เหมาะกับฟันแบบไหน? วัสดุอุดฟันมีการพัฒนาและปรับปรุงเรื่อยมา โดยที่ใช้แพร่หลายมีอยู่ 2 ชนิด คือ วัสดุอุดฟันอมัลกัม ประกอบด้วยส่วนที่เป็นโลหะ คือเงิน ดีบุกและทองแดง รวมกันอยู่ในรูปของโลหะผสม เวลาจะใช้งานก็จะต้องผสมเข้ากับปรอทบริสุทธิ์ ซึ่งนิยมใช้อุดฟันหลัง เพราะรับแรงบดเคี้ยวได้ดี ตัววัสดุมีความทนทานต่อการสึกกร่อน มีสีเงินไม่เหมือนสีของฟันธรรมชาติ อีกชนิดก็คือ วัสดุอุดฟันที่มีสีเหมือนฟัน  ใช้อุดฟันหน้าเพื่อต้องการความสวยงาม วัสดุชนิดนี้ได้รับการพัฒนาให้มีความแข็งแรงขึ้นมา แต่ก็ต้องถือว่ามีความทนทานสู้วัสดุอุดฟันอมัลกัมไม่ได้ วัสดุชนิดนี้จะแข็งตัวได้ก็ต่อเมื่อมีกระตุ้นด้วยแสงเฉพาะจากเครื่องฉายแสงวัสดุทันตกรรม ด้วยเหตุนี้การเลือกวัสดุอุดฟันให้เหมาะสมจึงมีส่วนทำให้เกิดประสิทธิภาพและความสวยงาม   เหตุผลที่อุดฟันไปแล้วทำไมจึงเสียวฟัน หลายคนคาดหวังว่าอุดฟันไปแล้วจะช่วยแก้ปัญหาอาการปวดฟันและมีความปกติขึ้นกับฟันของตน แต่ก็มีหลายคนเหมือนกันที่อุดฟันเสร็จแล้วรู้สึกเสียวฟันมากน้อย นั้นเป็นเพราะอะไร เรามาดูสาเหตุที่เป็นไปได้กันค่ะ   1.ฟันที่ผุลึกมาก บางรายมีฟันที่ผุลึก ก็อาจมีอาการเสียวฟันที่มากกว่าปกติจากการกรอฟัน ที่มีทั้งน้ำและลมเป่าตลอดเวลาที่กรอฟัน ซึ่งในกรณีที่ไม่ทะลุโพรงประสาทฟัน อาการเสียวฟันก็จะเกิดได้ชั่วคราวหลังการรักษา แต่ในกรณีฟันที่ผุลึกจนทะลุโพรงประสาทฟันแล้วและยิ่งมีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันด้วยแล้ว อาการเสียวฟันก็จะเพิ่มขึ้น ถึงขั้นอาจจะมีอาการปวดฟันร่วมด้วย จึงจำเป็นต้องพิจารณารักษาคลองรากฟัน เพื่อแก้ไขอาการเสียวฟันนี้   2.จุดสบบนวัสดุอุดฟันเปลี่ยนแปลงไป หลังจากการอุดฟัน […]

สะพานฟัน

สะพานฟัน   เมื่อพูดถึงสะพานฟันหลายท่านถึงกับงงอย่างแน่นอน เพราะว่าในตำราก็ไม่มีสอน บางคนอาจจะได้ยินก็ตอนที่ไปหาหมอฟันนี่ล่ะ แต่ก็มีหลายคนที่ได้ทำสะพานฟันแล้ว ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของทันตแพทย์ แล้วสะพานฟันคืออะไร เหมือนสะพานข้ามคลองหรือเปล่า เราลองมาดูความหมายของสะพานฟันกัน   ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย ๆ สะพานฟันก็คือ ฟันปลอมชนิดติดแน่น คำว่าติดแน่นก็หมายความว่าใส่แล้วใส่เลยไม่ต้องถอดเข้าถอดออก ถ้าเป็นแบบนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะชอบ โดยสะพานฟันจะติดถาวรเหมือนฟันแท้ของเรานี่ล่ะ ลักษณะของมันจะเหมือนฟันธรรมชาติเลย ฟันปลอมโดยทั่วไปจะมีตะขอมีแผ่นเหงือกแต่สะพานฟันได้ขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ทำให้การใช้ชีวิตของคุณง่ายขึ้นเยอะเลย   วิธีการที่น่ารู้ของการใส่สะพานฟัน สำหรับวิธีการใส่สะพานฟันนั้น คุณหมอจะกรอฟันซี่ข้าง ๆ ของฟันที่ถูกถอนไปแล้ว เพื่อใช้เป็นหลักยึดสะพานฟัน หลายคนไม่อยากถูกกรอฟันเนื่องจากเสียดายเนื้อฟันก็ด้วยเหตุนี้ แต่นี่เป็นวิธีการของสะพานฟัน จากนั้นคุณหมอจะทำการพิมพ์ปากของคุณ เพื่อส่งไปทำสะพานฟัน และจะมีการนัดให้คุณมาในครั้งหน้า เพื่อจะลองดูสะพานฟันที่ทำมาว่าพอดีกับปากหรือยัง หากพอดีแล้วคุณหมอจะทำการยึดสะพานฟันด้วยซีเมนต์ทางทันตกรรม เพียงเท่านี้คุณก็สามารถมีฟันใหม่สำหรับใช้งานได้ต่อไป   การดูแลสะพานฟันให้ใช้งานได้ยาวนาน ในเรื่องของการทำฟันแล้วเชื่อว่าหลายคนไม่อยากเดินเข้าเดินออกคลินิกบ่อยครั้ง เพราะแม้แต่ในช่วงทำสะพานฟันที่ต้องนอนอ้าปากนิ่ง ๆ นั้นคงไม่ค่อยมีใครชอบเป็นแน่ พลางนึกในใจว่าเมื่อไรจะเสร็จเสียที ดังนั้น เมื่อทำสะพานฟันแล้วก็ต้องดูแลสะพานไม่ให้ชำรุดไปก่อนเวลาอันควร โดยการทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธี เพื่อให้อายุของสะพานฟันใช้งานนานขึ้น โดยมีวิธีทำความสะอาดทั่วไปตามที่มีการแนะนำกันมา เช่น การแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหาร การใช้ไหมขัดฟัน เป็นต้น เหตุที่ต้องดูแลอย่างใส่ใจก็เพราะว่าสะพานฟันไม่ใช่ฟันธรรมชาติ […]

ครอบฟัน

ครอบฟัน หลายคนอาจจะสงสัยว่าฟันแบบไหนบ้างที่สามารถครอบฟันได้ ซึ่งลักษณะของฟันที่สามารถครอบฟันได้นั้น จะทำในฟันที่ได้รับความเสียหายจากการแตกหักจากอุบัติเหตุหรือเนื่องมาจากการสบฟัน การรักษารากฟัน รวมถึงฟันที่มีรูผุขนาดใหญ่ การครอบฟันมีประโยชน์จะทำให้ฟันมีความแข็งแรงและสามารถใช้งานได้ดีดังเดิม ใครบ้างที่ควรเข้ารับการรักษาด้วยการครอบฟัน เราลองมาแยกแต่ละกรณีดูค่ะ -ครอบฟันในกรณีที่รอยอุดฟันมีการใช้งานมานาน ทำไมฟันที่อุดมานานต้องครอบฟัน นั่นเป็นเพราะว่าด้วยเวลาที่ผ่านไป เมื่อรวมกับการดูแลสุขภาพช่องปากได้ไม่ทั่วถึงพอ อาจเกิดรอยผุใหม่ภายใต้รอยอุดเดิมได้ จึงเป็นเหตุให้รอยผุใหม่ เมื่อรวมกับของเดิมจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้การอุดฟันแบบปกติอาจไม่ได้ผล อาจจะไม่แข็งแรงเพียงพอ การใช้วิธีการครอบฟันจึงมีประสิทธิภาพกว่า -ครอบฟันในกรณีเกิดฟันร้าวหรือฟันแตกหัก ฟันที่ได้รับความเสียหาย ร้าวหรือแตกหักจนไม่อาจใช้วิธีการอุดฟันแบบธรรมดาได้ คุณหมอจะทำการครอบฟันให้ เพื่อเป็นการป้องกันฟันที่อาจจะแตกหักซ้ำจากการใช้งานได้อีก แต่ถ้าหากรอยร้าวหรือแตกหักอยู่ใกล้หรือทะลุชั้นโพรงประสาท คุณหมอจะแนะนำให้รักษารากฟันก่อน ถ้าคุณมีฟันร้าวหรือแตกหักแล้วไม่ได้รับการรักษา เมื่อเกิดการกระแทกซ้ำในจุดเดิม ก็จะทำให้ฟันแตกหักทั้งซี่ จนอาจจะต้องพิจารณาถอนในที่สุด ดังนั้นเพื่อสุขภาพในช่องปากของเราเมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ก็ไม่ควรปล่อยไว้ต้องรีบรักษาโดยด่วน มาเรียนรู้วัสดุที่ใช้ในการครอบฟันกัน การได้รู้ว่าวัสดุที่ใช้ในการครอบฟันมีกี่แบบและแต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร จะทำให้ผู้รับการครอบฟันมีความเข้าใจและมั่นใจในวัสดุแต่ละแบบที่คุณหมอใช้ในการทำครอบฟันว่าเหมาะสมที่สุด 1.การครอบฟันด้วยวัสดุโลหะผสม (มีหลายชนิด อาจจะแบ่งตามชนิดโลหะมีค่าที่ผสมอยู่ เช่น ทอง) การครอบฟันด้วยวัสดุชนิดนี้จะดีตรงที่มีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าการใช้วัสดุประเภทอื่น บริเวณที่เหมาะก็คือฟันกราม เพราะฟันกรามต้องทำหน้าที่ในการบดเคี้ยว ทำให้ได้รับแรงกดมากกว่าบริเวณอื่น วัสดุโลหะผสมจึงถูกนำมาใช้ที่บริเวณฟันกราม รวมถึงมีขั้นตอนในการรักษาและขั้นตอนในแลปที่ง่ายกว่าการครอบฟันประเภทอื่น นอกจากนี้ถ้าเลือกใช้เป็นแบบโลหะที่มีทองผสมในสัดส่วนที่สูง ก็ยังดีต่อเนื้อเยื่อของสุขภาพเหงือกมากกว่าอีกด้วย (ทองมีความเข้ากันได้กับเนื้อเยื่อร่างกายมากกว่าโลหะผสมชนิดอื่นๆ) ส่วนข้อเสียของวัสดุชนิดนี้คือ ไม่สามารถนำมาใช้รักษาฟันบริเวณด้านหน้าได้ เป็นเพราะสีของโลหะนั่นเอง 2.การครอบฟันด้วยวัสดุเรซินและเซรามิก คงไม่มีใครอยากครอบฟันแล้วเห็นวัสดุครอบฟันที่มีสีแตกต่างกับฟันของตนเองจนสังเกตได้โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้าอย่างแน่นอน วัสดุครอบฟันแบบเรซินและเซรามิกตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี โดยมีสีที่ใกล้เคียงกับฟันจริง […]

ย้อนกลับด้านบน