Tag Archives: ฟันคุด

ฟันคุด

ฟันคุด ฟันคุดคืออะไร มีหลายคนที่ยังสงสัย มีคนเคยตั้งคำถามน่าสนใจ ทิ้งไว้ให้หาคำตอบว่าทำไม เขามีฟันแค่  28  ซี่เท่านั้น อายุก็มากพอที่ฟันแท้น่าจะขึ้นหมดปากแล้ว แต่มีบางคนที่ฟันขึ้นไม่ครบ 32  ซี่เหมือนกัน แล้วอีก 4 ซี่ที่เหลือมันหายไปไหน หรือว่าจะกลายเป็นฟันคุด  เพราะฟันธรรมชาติของคนเรามี 2 ชุด คือ ฟันน้ำนมที่เป็นฟันชุดแรก ส่วนสาเหตุที่เรียกว่าฟันน้ำนม ก็เพราะว่ามีสีขาวคล้ายน้ำนม มีทั้งหมด 20 ซี่ จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน และชุดที่สองคือฟันแท้ ซี่แรกขึ้นมาประมาณ 6 ขวบ ส่วนฟันคุดนั้น ปกติจะขึ้นมาตอนช่วงอายุ 18 ปี แต่ในบางรายก็ไม่ขึ้นซึ่งไม่มีใครบอกได้ บางคนอาจจะขึ้นมาแต่ไม่รู้ว่าเป็นฟันคุด และอาจไม่มีอาการปวดใดๆ ทั้งสิ้น แต่บางคนอาจขึ้นมาแล้วเกิดอาการปวดเลยก็มี ทำให้ต้องรีบหาทางรักษา   ฟันกราม 4 ซี่สุดท้ายจะกลายเป็นฟันคุดจริงหรือ ฟันแท้มีทั้งหมด 3  ซี่ มีขนาดใหญ่และมีสีเหลืองมากกว่าฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ  6 ปี และฟันแท้จะทยอยขึ้นจนครบ […]

ฟันคุด

ฟันคุด สำหรับคนที่เป็นฟันคุดนั้น หากฟันคุดไม่ออกอาการใด ๆ ก็คงจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาสักเท่าไร แต่ถ้าฟันคุดออกอาการเมื่อไร เชื่อว่าหลายคนคงจะไม่อาจอยู่นิ่งเฉยได้ ยิ่งถ้ามีอาการรุนแรง จนเกิดการติดเชื้อในช่องปากหรือลุกลามไปจนติดเชื้อบริเวณใบหน้าและลำคอ แบบนี้ก็ต้องบอกว่าอันตรายมากจนถึงต้องนอนโรงพยาบาลกันเลยทีเดียว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว คุณควรรีบไปปรึกษาทันตแพทย์ อย่าปล่อยทิ้งไว้นานหากพบอาการที่บ่งบอกดังนี้ ปวด บวมบริเวณฟันคุด หรือบวมแดงบริเวณเหงือกรอบฟันคุด มีกลิ่นปาก อ้าปากได้น้อย แก้มหรือใบหน้าบวม กลืนน้ำลายได้ลำบาก เวลากลืนจะเจ็บคอ มีไข้ เป็นต้น หากคุณละเลยไม่ใส่ใจปล่อยทิ้งไว้นานเกิน อาจกลายเป็นหนองหรือติดเชื้อลามเข้าใบหน้า ลำคอ ช่องว่างเนื้อเยื่อในลำคอ จะทำให้หายใจลำบากได้ จะเห็นได้ว่าอาการดังกล่าวค่อนข้างรุนแรงและเป็นอันตรายทีเดียว หลายคนไปซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ขอบอกว่าเสี่ยงมากเพราะอาจได้รับยาหรือปริมาณที่ไม่ถูกต้องได้ ทางที่ดีควรปรึกษาทันตแพทย์จะดีกว่า   วิธีการรักษาฟันคุด โดยส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะทำการถอนหรือผ่าฟันคุดออกให้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาวะการติดเชื้อในขณะนั้นด้วย หากมีอาการบวมแดงของเหงือกมากและอ้าปากไม่ค่อยได้ ทันตแพทย์อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะรักษาและบรรเทาอาการก่อน พร้อมทั้งแนะนำให้พยายามทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวด้วย เมื่ออาการดีขึ้นถึงจะผ่าฟันคุดออกได้ แต่ถ้าอาการไม่รุนแรงมากนัก คุณหมอสามารถผ่าฟันคุดได้ทันที ในบางกรณีอาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะหลังการผ่าตัดร่วมด้วย  ในกรณีที่มีการบวมลุกลามหรือมีหนองสะสม อาจต้องทำการเปิดระบายหนอง ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของทันตแพทย์ หลังจากผ่าตัดฟันคุดแล้วควรกินยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ ควรบ้วนปากและแปรงฟันให้สะอาดและกลับไปพบทันตแพทย์ตามนัด   ฟันคุดนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพในช่องปาก เมื่อคุณมีฟันคุด ย่อมส่งผลต่อสุขภาพในช่องปากโดยตรง ซึ่งล้วนแต่สร้างความเจ็บปวดและความไม่สบายในช่องปากเป็นอย่างมาก ซึ่งสามารถจำแนกปัญหาที่เกิดจากฟันคุดได้ดังนี้   […]

ย้อนกลับด้านบน