รักษารากฟัน

%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%a9%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b8%b1%e0%b8%991รักษารากฟัน

 

รักษารากฟันทำอย่างไรนะ? เป็นอีกหนึ่งคำถามสำหรับใครอีกหลายๆ คนที่มีปัญหาเรื่องฟัน การรักษารากฟันเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการทันตกรรม ก่อนที่จะถึงขั้นตอนพิจารณาถอนฟัน เป็นการเก็บฟันที่ไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันธรรมดาได้ เพื่อให้ใช้งานบดเคี้ยวได้ต่อไป ซึ่งกระบวนการรักษารากฟันต้องใช้เวลารักษาหลายครั้ง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการถอนฟัน หลายคนที่ตัดสินใจถอนฟัน อาจเพราะไม่มีกำลังค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ทำให้ตรงจุดนี้จึงจำเป็นต้องพูดคุยกับทันตแพทย์ให้เข้าใจตรงกันว่า  หากต้องทำการรักษารากฟันจริงๆ แล้ว จะต้องรักษากี่ครั้ง แต่ละครั้งสามารถแบ่งจ่ายค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ และจะต้องมีขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง

 

การรักษารากฟันมีขั้นตอนที่ยุ่งยากแค่ไหน??

การรักษารากฟัน จะต้องผ่านหลายขั้นตอน โดยทันตแพทย์จะใส่ยาชาให้แล้วจะกรอกำจัดส่วนที่บุบนตัวฟันออก แล้วจึงกรอเข้าไปยังบริเวณโพรงฟันและกำจัดประสาทฟันออก ด้วยการวัดความยาวรากขยาย จากนั้นจะทำความสะอาดคลองรากฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรค จัดการล้างและใส่ยาฆ่าเชื้อไว้ในรากฟัน เพื่อให้ยามีการออกฤทธิ์ประมาณ 5-7 วัน แล้วก็อุดฟันเพื่อปิดโพรงประสาทชั่วคราว ทำเช่นนี้จนกว่าสภาพฟันของคุณจะปกติดีแล้วจึงอุดคลองรากฟันให้แน่นและให้เต็ม การรักษารากฟันเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลา 2-3 ครั้ง บางกรณีสามารถทำให้เสร็จภายในครั้งเดียว หรืออาจใช้เวลาหลายๆ ครั้งขึ้นอยู่กับซี่ฟันที่ผุ  หากเป็นฟันหน้าจะมีคลองรากเดียว ส่วนฟันกรามอาจมี 3-4 คลองรากฟัน  โดยในแต่ละขั้นตอนทันตแพทย์อาจจะพิจารณาฉีดยาชาด้วยทุกครั้ง และเมื่อยาชาหมดฤทธิ์ ผู้ที่มาใช้บริการอาจรู้สึกปวดระบมเล็กน้อยในช่วง 2 – 3 วันแรก  ทำให้หลังการรักษา อาจจำเป็นต้องทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่หลังจากเสร็จการรักษาทุกขั้นตอนของการรักษารากฟันแล้ว อาการปวดฟันก็จะหายไป  ทำให้สามารถใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้เป็นปกติ เพราะการรักษารากฟันเป็นการกำจัดประสาทฟันอักเสบที่เป็นสาเหตุของอาการปวดฟันออกไปแล้ว

 

หลังจากรักษารากฟันแล้ว ควรทำอย่างไร?

หลังจากที่ทำการรักษารากฟันเสร็จแล้ว ทันตแพทย์อาจแนะนำให้มีการรักษาต่อด้วยการครอบฟัน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการรักษาเนื้อฟันให้คงทนแข็งแรง  และสามารถทำให้ฟันใช้งานได้อีกนาน  แต่ก็ไม่ได้หมายความ เมื่อรักษารากฟันและทำการครอบฟันแล้วฟันซี่ที่รักษารากฟันดังกล่าวจะคงทนไปตลอด เพราะหากคุณรักษาความสะอาดไม่ดี ก็จะทำให้เกิดฟันผุซ้ำได้อีก แนะนำให้เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันทุก 6 เดือน  และควรได้รับการตรวจเป็นระยะต่อไปอีก 2-3 ปี เพื่อความแน่ใจว่ารอยโรคที่ปลายรากนั้นได้หายเป็นปกติ  ส่วนฟันที่ทำการรักษาคลองรากฟันแล้วเมื่อนานไปอาจจะมีสีเหลืองเข้มกว่าฟันซี่อื่นๆ ที่อยู่ข้าง เคียงและฟันจะมีความเปราะกว่าฟันปกติซี่อื่นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่เมื่อทำการรักษารากฟันแล้วเนื้อฟันที่ดีๆ อาจจะเหลืออยู่น้อย จากการกรอรอยผุและกรอไปในกลางฟันเพื่อรักษารากฟัน ทันตแพทย์มักจะแนะนำให้ทำครอบฟันเพื่อป้องกันการแตกหักที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหลังได้

 

ประโยชน์ของการรักษารากฟัน

บางคนอาจจะกำลังตัดสินใจอยู่ว่าจะรักษารากฟันดีหรือจะถอนทิ้ง แล้วมาใส่ฟันปลอม แนะนำเลยว่าการรักษารากฟันย่อมดีกว่าใส่ฟันปลอมแน่นอน เมื่อรักษารากฟันแล้วจะปวดฟันอีกหรือไม่หลายคนคงสงสัย เพราะฟันที่รักษารากฟันไปแล้วจะถูกกำจัดเส้นประสาทฟันออกไปจึงย่อมทำให้ไม่มีความเจ็บปวด ข้อดีของการรักษารากฟันที่เห็นได้ชัดคือ สามารถเก็บรักษาฟันส่วนที่เหลือไว้ใช้งานได้ต่อไป เพราะฟันที่รักษารากฟันแล้วก็เหมือนฟันในปากซี่อื่นๆ และมีเบ้ากระดูกรองรับ  หรือบางรายอาจทำการใส่ครอบฟันยึดให้ฟันมั่นคงแข็งแรง ซึ่งจะให้ความรู้สึกที่ดีกว่าการใส่ฟันปลอม

 

เมื่อทำการรักษารากฟันแล้วฟันที่เคยผุจะไม่ปวดเพราะเส้นประสาทถูกกำจัดไปหมด  ทำให้คุณสามารถใช้งานฟันซี่นั้นต่อได้เหมือนปกติ ไม่ปวดฟันแถมฟันก็ยังอยู่ครบ ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง บางรายจึงเลือกที่จะถอนฟันทิ้งแล้วใส่ฟันปลอมแทน  การรักษารากฟันจะขึ้นอยู่กับสภาพฟันที่จะรักษาด้วย ถึงจะดูขั้นตอนซับซ้อนและใช้เวลานาน หรือหลายครั้ง แต่ผลที่ได้นับว่าคุ้มค่ามาก เพราะคุณยังต้องใช้งานฟันไปอีกนาน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ย้อนกลับด้านบน