Category Archives: ทันตกรรมสาขาต่างๆ

ฟันปลอม

ฟันปลอม เชื่อเถอะว่าหนุ่มๆ สาวๆ สมัยนี้หากไม่จำเป็นจริงๆ คงไม่มีใครอยากจะใส่ฟันปลอมอย่างแน่นอน ซึ่งการใส่ฟันปลอมก็จะมีแบบแยกใส่ตามซี่ หรือใส่หมดปาก ซึ่งหากเป็นแบบใส่หมดปากนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัยมากกว่า ทุกคนอาจจะมีฟันแท้เกือบครบแต่เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้เริ่มมีการทยอยถอนไปทีละซี่ หรือหลุดร่วงไปตามกาลเวลาและอายุขัย จนในที่สุดบางคนอาจไม่เหลือฟันแท้ จึงจำเป็นต้องทำฟันปลอมขึ้นมาเพื่อช่วยในการบดเคี้ยว ความสวยงามและช่วยในการออกเสียงที่ชัดเจน   ใส่ฟันปลอมดีอย่างไร?? การใส่ฟันปลอมจะสามารถช่วยลดหรือช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพที่อาจจะเกิดขึ้นกับอวัยวะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยว อย่างการถอนฟันไปเพียงซี่เดียวแต่อาจส่งผลทำให้ฟันข้างเคียงล้มได้ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซอกฟัน เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป ก็จะทำให้เศษอาหารเข้าไปติดตามซอกฟันและเป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุตามมา ทำให้เหงือกมีอาการอักเสบและเกิดโรคปริทันต์ตามมา ฟันคู่สบก็จะเกิดการยื่นออกไปในช่องว่างของขากรรไกรฝั่งตรงข้ามได้ ส่วนในคนที่ถอนฟันหลังไปหมด ก็จะเกิดปัญหาจากการพยายามใช้ฟันหน้ามาบดเคี้ยวอาหารแทน ทำให้ปลายฟันหน้าสึก ทั้งฟันบน/ล่างหรือฟันหน้าล่างอาจไปกัดโดนเพดานทำให้เจ็บเหงือกได้ ซึ่งถ้าทำฟันปลอมเพื่อให้มีฟันหลังบดเคี้ยวแทน ก็จะทำให้ปัญหานี้ทุเลาหรือหมดไปได้ การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ จะเหมาะในรายที่ไม่สามารถทำฟันปลอมชนิดติดแน่นได้ เช่น ฟันหลักด้านท้ายไม่มี ทำให้ไม่มีฟันหลักด้านหลังเพื่อยึดสำหรับทำสะพานฟัน หรือผู้ที่อยู่ในช่วงที่ถอนฟันไปใหม่ๆ เหงือกยังไม่ยุบสนิทดี หากรีบทำฟันปลอมชนิดติดแน่นไป เมื่อแผลหายสนิท อาจทำให้ช่องว่างใต้ฟันปลอมชนิดติดแน่นที่ทำไปได้   ใส่ฟันปลอมอย่างไรไม่ให้เกิดอันตราย การใส่ฟันปลอมหากใส่ไม่ถูกวิธีหรือดูแลรักษาฟันที่เหลืออยู่ได้ไม่ดี ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อฟันที่เหลืออยู่ เพราะช่วงระหว่างรอยต่อของฟันปลอมและฟันธรรมชาติหรือในบางครั้งทันตแพทย์อาจจะพิจารณาใส่ตะขอโลหะมาเกี่ยวกับฟันธรรมชาติ อาจทำให้มีเศษอาหารติดอยู่แล้วทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ ก็จะทำให้เกิดฟันผุตามมาได้ ส่วนบริเวณที่เป็นฟันปลอมปิดทับอย่างเพดาน ขอบเหงือก ก็จะทำให้ขาดการกระตุ้นและทำความสะอาดยากก่อให้เกิดการอักเสบได้เช่นกัน   ดูแลฟันปลอมให้ถูกสุขลักษณะได้อย่างไร ใครที่ใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ คงจะต้องได้รับคำแนะนำดีๆ จากทันตแพทย์ในการดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกต้องและถูกลักษณะมาบ้าง ซึ่งในการทำความสะอาดฟันปลอม […]

รากฟันเทียม

รากฟันเทียม ปัจจุบัน มีรากฟันเทียมผลิตออกมาจากหลากหลายบริษัท ส่วนใหญ่คลินิกทันตกรรมจะเลือกใช้รากฟันเทียมที่มีมาตรฐานซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และมีบริการหลังการขายที่ดี ซึ่งมีเพียงไม่กี่ยี่ห้อที่มีการศึกษาในระยะยาวเกี่ยวกับรากเทียมของบริษัทนั้นๆ  และจะต้องมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องไว้พร้อมสำหรับเรียกใช้ยามฉุกเฉินนับเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะหากจำเป็นต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไรบางเกี่ยวกับรากฟันเทียม ก็จะสามารถทำได้ง่ายขึ้น   รากฟันเทียม แต่ละชนิดต่างกันอย่างไร ? ปกติรากฟันเทียมจะมีความยาวตั้งแต่ 6–15 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร ซึ่งรากฟันเทียม ทำมาจากวัสดุที่เข้ากันได้ดีกับร่างกายของเราเพื่อเป็นการใช้สำหรับทดแทนฟันที่หายไป รากฟันเทียมโดยทั่วไปในยุคปัจจุบันอาจจะเป็นเกลียวหรือทรงกระบอกที่ทำมาจากโลหะไทเทเนียมซึ่งเป็นโลหะที่พิเศษ เพราะมันจะยึดติดกับกระดูกโดยไม่มีชั้นใดๆ มาขวางกั้น  และการที่รากฟันเทียมไทเทเนียมยึดแน่นกับกระดูกนี้ เรียกกันว่า osseointegration   เป็นข้อดีของไทเทเนียมคือ คนส่วนใหญ่จะไม่เกิดอาการแพ้ ร่างกายยอมรับได้ดี ไม่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อช่องปาก เพราะคุณสมบัติที่เข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์นี้ จึงทำให้มีการใช้ไทเทเนียมกันอย่างกว้างขวางในทางการแพทย์   การใส่รากฟันเทียมยากหรือไม่? การใส่รากฟันเทียมจะต้องมีการวางแผนการรักษาที่ดีและครอบคลุมก่อนในขั้นแรก ซึ่งภาพถ่ายรังสีและแบบจำลองฟันที่ได้จากการพิมพ์ปากนั้น จะเป็นตัวช่วยที่ดีในการประเมินปริมาณกระดูกในแง่ของความกว้างและความลึก ทำให้สามารถวางแผนสำหรับเลือกขนาดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมได้ และในการทำรากฟันเทียม ถือเป็นกระบวนการทางศัลยกรรมที่ทำภายใต้ภาวะปลอดเชื้อ จะใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด ขั้นตอนคร่าวๆ โดยหลังจากที่เหงือกและเนื้อเยื่อหมดความรู้สึกจากยาชาเฉพาะที่แล้ว ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือกออกอย่างระมัดระวัง แล้วจึงทำการฝังรากเทียมตามขนาดที่ได้เลือกจากการวางแผนการรักษามา แล้วเย็บปิดเหงือกด้านบนเอาไว้รอเวลาให้แผลหาย  ระหว่างนี้ทันตแพทย์อาจใส่ฟันปลอมชั่วคราวให้ใช้งานไปก่อน   การใส่ฟันลงไปบนรากฟันเทียม เมื่อถึงเวลาที่รากฟันเทียมตรงส่วนของรากมีการเชื่อมติดแน่นดีกับกระดูกโดยรอบแล้ว […]

รักษารากฟัน

รักษารากฟัน   รักษารากฟันทำอย่างไรนะ? เป็นอีกหนึ่งคำถามสำหรับใครอีกหลายๆ คนที่มีปัญหาเรื่องฟัน การรักษารากฟันเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการทันตกรรม ก่อนที่จะถึงขั้นตอนพิจารณาถอนฟัน เป็นการเก็บฟันที่ไม่สามารถรักษาโดยการอุดฟันธรรมดาได้ เพื่อให้ใช้งานบดเคี้ยวได้ต่อไป ซึ่งกระบวนการรักษารากฟันต้องใช้เวลารักษาหลายครั้ง และต้องเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าการถอนฟัน หลายคนที่ตัดสินใจถอนฟัน อาจเพราะไม่มีกำลังค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ทำให้ตรงจุดนี้จึงจำเป็นต้องพูดคุยกับทันตแพทย์ให้เข้าใจตรงกันว่า  หากต้องทำการรักษารากฟันจริงๆ แล้ว จะต้องรักษากี่ครั้ง แต่ละครั้งสามารถแบ่งจ่ายค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ และจะต้องมีขั้นตอนการรักษาอย่างไรบ้าง   การรักษารากฟันมีขั้นตอนที่ยุ่งยากแค่ไหน?? การรักษารากฟัน จะต้องผ่านหลายขั้นตอน โดยทันตแพทย์จะใส่ยาชาให้แล้วจะกรอกำจัดส่วนที่บุบนตัวฟันออก แล้วจึงกรอเข้าไปยังบริเวณโพรงฟันและกำจัดประสาทฟันออก ด้วยการวัดความยาวรากขยาย จากนั้นจะทำความสะอาดคลองรากฟันเพื่อกำจัดเชื้อโรค จัดการล้างและใส่ยาฆ่าเชื้อไว้ในรากฟัน เพื่อให้ยามีการออกฤทธิ์ประมาณ 5-7 วัน แล้วก็อุดฟันเพื่อปิดโพรงประสาทชั่วคราว ทำเช่นนี้จนกว่าสภาพฟันของคุณจะปกติดีแล้วจึงอุดคลองรากฟันให้แน่นและให้เต็ม การรักษารากฟันเฉลี่ยแล้วจะใช้เวลา 2-3 ครั้ง บางกรณีสามารถทำให้เสร็จภายในครั้งเดียว หรืออาจใช้เวลาหลายๆ ครั้งขึ้นอยู่กับซี่ฟันที่ผุ  หากเป็นฟันหน้าจะมีคลองรากเดียว ส่วนฟันกรามอาจมี 3-4 คลองรากฟัน  โดยในแต่ละขั้นตอนทันตแพทย์อาจจะพิจารณาฉีดยาชาด้วยทุกครั้ง และเมื่อยาชาหมดฤทธิ์ ผู้ที่มาใช้บริการอาจรู้สึกปวดระบมเล็กน้อยในช่วง 2 – 3 วันแรก  ทำให้หลังการรักษา อาจจำเป็นต้องทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวด แต่หลังจากเสร็จการรักษาทุกขั้นตอนของการรักษารากฟันแล้ว อาการปวดฟันก็จะหายไป  ทำให้สามารถใช้ฟันเคี้ยวอาหารได้เป็นปกติ […]

สะพานฟัน

สะพานฟัน ข้อดีของการทำสะพานฟัน หรือที่หลายคนเรียกว่าฟันปลอมแบบติดแน่นก็คือ เป็นการกำจัดปัญหาความรำคาญเรื่องการถอดใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ หรือไม่ต้องมีการผ่าตัด รวมทั้งยังใช้เวลาน้อย เพียง  1-2  อาทิตย์ก็สามารถมีฟันสวยๆ สมบูรณ์แบบเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นไปใช้เคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ซึ่งการใส่ฟันด้วยวิธีทำสะพานฟัน จำเป็นที่จะต้องมีการกรอเตรียมเนื้อฟันธรรมชาติที่อยู่ด้านหน้าและด้านหลังต่อช่องว่าง เพื่อที่จะทำหลักยึดรวมถึงการรองรับสะพานฟัน ซึ่งการทำสะพานฟันเป็นการทำฟันปลอมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติและยังช่วยให้เกิดความสวยงามอีกด้วย   ใครที่เหมาะและไม่เหมาะในการทำสะพานฟัน ผู้ที่อยู่ในช่วงระยะของการถอนฟันออกไปเป็นช่วงสั้นๆ (ถอนฟันเพียง 1-2 ซี่)  โดยต้องมีฟันหลักด้านหน้าและฟันหลักด้านหลังของช่วงฟันที่ถอนไป มีสภาพสันเหงือกที่ปกติ และฟันด้านตรงข้ามของขากรรไกรไม่งอกยาวเข้ามาในช่องว่าง จนไม่มีที่เพียงพอที่จะทำฟันปลอม ส่วนผู้ที่ไม่เหมาะในการทำสะพานฟัน คือผู้ที่มีช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว และมีฟันหลักไม่แข็งแรงพอ   จำเป็นแค่ไหนที่ต้องทำสะพานฟัน กรณีที่มีฟันที่จะต้องถูกถอนไป ปัญหาที่เกิดตามมา คือ เกิดช่องว่างในช่องปาก หรือฟันหลอทำให้เคี้ยวไม่สะดวก ส่งผลทำให้ฟันคู่สบห้อยย้อยลงมา และฟันข้างเคียงล้ม หรืออาจเป็นโรคเหงือกอีกด้วย  การทำสะพานฟันคือการใส่ฟันปลอมทดแทนฟันที่หายไป เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นดังข้างต้น โดยที่ตำแหน่งที่ฟันหายไป จำเป็นต้องมีฟันข้างเคียงครบทั้งด้านหน้าหรือด้านหลังของช่องว่าง สะพานฟันเป็นการครอบฟันติดกันประมาณ 3-4 ซี่ ซึ่งซี่แรกและซี่สุดท้ายจะเป็นครอบฟันที่เป็นการนำไปยึดกับฟันธรรมชาติหรือฟันรากเทียมซึ่งอยู่หน้าและหลังต่อช่องว่างนั้นโดยมีฟันปลอมแขวนตรงกลางเพื่อทดแทนที่ฟันที่หายไป   ความเหมาะสมในการเลือกทำสะพานฟัน การใช้สะพานฟันแบบเซรามิกส่วนใหญ่จะใช้กับฟันหน้า เพื่อเป็นการทดแทนฟันหน้าที่หลอและจะให้ความใส กลมกลืนอย่างสวยงามเหมือนฟันตามธรรมชาติ ส่วนสะพานฟันแบบโลหะ  ก็เลือกใช้สำหรับฟันกรามไม่ต้องเน้นในเรื่องความสวยงามเท่าใดนัก เพราะมองเห็นไม่ชัดเจน แต่มีความแข็งแรงและทนทานมากที่สุดไม่มีการบิ่นหรือแตกช่วยให้การใช้แรงในการบดเคี้ยวอาหารดีกว่าเซรามิก […]

ฟอกสีฟัน

ฟอกสีฟัน   การฟอกสีฟันให้ขาวเป็นวิธีที่ปลอดภัย และให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ ส่วนใหญ่จะใช้วิธี Home Bleaching  ซึ่งเป็นใช้สารฟอกสีฟันที่มีความเข้มข้นต่ำที่สุด บางคนมีสีฟันที่เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีคล้ำขึ้น ส่วนใหญ่จะมีสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป  ซึ่งแต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมกับแต่ละสาเหตุและระดับความเข้มที่ต่างกันไป สามารถปรึกษาทันตแพทย์ถึงวิธีที่ดีและเหมาะสมสำหรับแต่ละรายเพื่อให้ตรงกับการรักษาที่ตรงจุด การมีสีฟันที่ไม่ขาว แวววาวอาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจ จนไม่สามารถยิ้มได้อย่างเปิดเผย   การฟอกสีฟันไม่ส่งผลเสียต่อเนื้อฟัน การฟอกสีฟันถือเป็นการเปลี่ยนสีของฟันที่อนุรักษ์ฟันที่สุด เพราะไม่มีผลกัดกร่อนผิวฟัน ส่วนความจำเป็นในการฟอกสีฟันนั้น จะขึ้นอยู่กับความพอใจของแต่ละคน การฟอกสีฟันอาจเป็นสิ่งจำเป็น เพราะบางคนจะไม่ค่อยรู้สึกว่าฟันมีสีคล้ำขึ้น และหากว่าสีจะคล้ำ แต่ก็ยังอาจจะพอใจในสีปัจจุบัน ไม่ได้เดือดร้อนอะไร แต่บางคนรายที่ถูกเพื่อนทักบ่อย จนทำให้เกิดความไม่มั่นใจในรอยยิ้ม คุณคงรู้สึกว่าอยากให้ฟันมีสีขาวขึ้น เพราะสีปัจจุบันดูคล้ำมากเกินไป สำหรับผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฟอกสีฟันคือ อาการเสียวฟัน และการระคายของเหงือกหรือเนื้อเยื่ออ่อน แต่จะกลับสู่สภาพปกติได้เอง   ข้อจำกัดของการฟอกสีฟัน   สามารถฟอกสีฟันเพียงอย่างเดียวได้ หากเป็นฟันที่มีสีเข้มไม่มากแต่ออกเป็นสีเหลืองหรือคล้ำ แต่หากสีของฟันเป็นสีที่เข้มมากอย่าง สีเทาดำอาจจะต้องใช้วิธีการอื่น อย่างการทำเคลือบฟันเทียม หรือทำการปรับสภาพผิวฟัน หรือครอบฟัน โดยการฟอกสีฟันจะทำได้กับผิวฟันธรรมชาติเท่านั้น หากเป็นวัสดุอื่นๆ  อย่างวัสดุอุดฟัน ฟันปลอม หรือครอบฟัน จะไม่มีการเปลี่ยนสีจากการฟอกสีฟัน หากคุณมีการครอบฟันหรืออุดฟัน หรือทำฟันปลอมไปแล้ว อาจจะต้องทำการเปลี่ยนครอบฟัน หรือฟันปลอม รวมถึงวัสดุที่อุดนั้นๆ […]

จัดฟัน

จัดฟัน การจัดฟันเป็นการป้องกันและรักษาความผิดปกติของการขึ้นของฟัน เพื่อให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมและทำให้มีระบบการบดเคี้ยวที่ดีขึ้น รวมถึงเป็นการรักษา วิธีการคือจะใช้เครื่องมือจัดฟันในการแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันและการสบฟันที่ผิดปกติ ทำให้แลดูไม่สวยงามและไม่เป็นระเบียบ นอกจากนี้การจัดฟันยังช่วยให้คนไข้บางรายมีโครงสร้างและรูปร่างของใบหน้าที่ดีและสวยงามขึ้นด้วย   ผลที่ได้รับจากการจัดฟัน เมื่อคุณจัดฟันจนเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว สิ่งที่คุณจะได้รับอย่างเห็นได้ชัดคือความสวยงามและบุคลิกภาพที่ดีขึ้น ฟันจะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ เวลายิ้มก็ดูสวยมากขึ้น เพราะต้องยอมรับว่าในปัจจุบันผู้ประกอบการมักเลือกคนที่มีบุคลิกภาพดีเข้าทำงาน ซึ่งการจัดฟันมีส่วนส่งเสริมบุคลิกภาพอย่างไม่ต้องสงสัย หลายคนจึงยอมลงทุนจัดฟัน ถึงแม้ราคาค่าจัดฟันจะค่อนข้างสูง แต่ก็มีผู้คนจำนวนมากยอมจ่ายเพราะผลที่ได้นั้นคุ้มค่าอาจจะมากกว่าจำนวนเงินที่เสียไปอีก   เมื่อคุณจัดฟันจะทำให้ฟันมีการสบฟันที่ดีขึ้น ทำให้สามารถเคี้ยวอาหารได้ดีกว่าเดิม นอกจากนี้การจัดฟันยังเป็นการช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีในช่องปากและฟัน อย่างในกรณีที่มีปัญหาฟันซ้อนเก ฟันยื่นและอื่น ๆ เมื่อจัดฟันแล้วก็จะทำให้การทำความสะอาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้เป็นอย่างดี การจัดฟันยังช่วยลดการมีกลิ่นปากอันเนื่องมาจากการแปรงฟันไม่สะอาด ซึ่งมักเกิดในผู้ที่มีฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ   ข้อเสียของการจัดฟัน สำหรับข้อเสียของการจัดฟันที่หลายคนแอบบ่นก็เห็นจะเป็นเรื่องของราคาที่ต้องใช้คำว่าแพงกันเลยทีเดียว  ข้อเสียของการจัดฟันจากสาเหตุอื่นก็เช่น ในบางรายอาจจะต้องถอนฟันซี่ที่สมบูรณ์ออกไปหลายซี่ หรือมีอาการเจ็บร่วมด้วย ซึ่งจะเจ็บมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดฟันที่คุณเลือก แต่อย่างไรก็ต้องถือว่าต้องเจ็บแน่ ๆ ไม่ว่าจะเจ็บตอนถอนฟัน หรือตอนดึงลวด หรือลวดเสียดสีจนเนื้อเยื่อในช่องปากเป็นแผลก็ยังมี ในส่วนของเวลาที่ต้องใช้เวลานานกว่าฟันจะเข้าที่เข้าทางก็อย่างน้อยประมาณ 2 ปี และในขณะติดเครื่องมือจัดฟันอยู่นั้นจะทำให้การทำความสะอาดฟันเป็นไปได้ยาก ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อฟันผุ และถ้าหากคุณไม่ดูแลเศษอาหารก็อาจเข้าไปติดเหล็กจัดฟันบ่อยครั้ง นอกจากนี้ในช่วงแรกของการจัดฟันอาจจะมีการพูดไม่ชัดบ้าง   นอกจากนี้การจัดฟันด้านนอกแบบธรรมดา ภายหลังจากแกะเครื่องมือออกแล้ว อาจทำให้ผิวฟันไม่เรียบได้ ยิ่งในช่วงที่ใส่รีเทนเนอร์ ซึ่งเป็นอะไรที่หลายคนไม่ค่อยชอบ แต่ก็ต้องใส่ […]

ย้อนกลับด้านบน